Saturday, May 26, 2018

ตำนานพญานาค และ วัฒนธรรมไทย

                    หลังจากไม่ได้เขียนเรื่องราวไทยๆมากซักระยะหนึ่งแล้วอันเนื่องจากงานและก็ภาระกิจส่วนตัว  วันนี้คงเป็นเวลาดีที่เอาเรื่องราวพระพญานาค และความเป็นมามาเล่าในบล๊อคของตัวเองให้ทุกคนได้ฟัง  เผื่อมันจะเป็นประโยชน์และไม่เสียเวลาหาข้อมูลของคนที่มีความสนใจในเรื่อง ไทย ไทย อย่างเรา.
                    แต่ก็ต้องขอเล่าเป็นแบบที่ตัวเองถนัดในแบบของมัคคุเทศก์ และเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ตามแบบฉบับที่รวมรวมมาที่ต่างๆและขอขอบคุณข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเจ้าของข้อมูลด้วยครับ  แต่ถ้าเริ่มก็ต้องเล่าเรื่องกำเนิดพญานาคซึ่งน่าจะเกิดจากทางอินเดียใต้ อันเนื่องจากสภาพพื่นที่ทางด้านทางตอนใต้ของประเทศอินเดียเต็มไปด้วยงูมีพิษร้ายแรง  ทำให้เกิดความเชื่อว่างูเป็นสัตว์ที่มีอิทธิ์มาก มีอำนาจมากถึงเกิดตำนานต่างๆ เกี่ยวกับพญานาคเกิดขึ้นรวมถึงเรื่องราว ในมหากาพย์ มหาภาระเรื่องพญานาคกับครุฑ
                จากตำนานมหากาพย์มหาภาระตะ  พญานาค เกิดจากฤาษี กัสญปัจพรหม กับ นางกัญธูร (จากการขอพรกับฤษี กัสญปัจพรหม) ซึ่งออกมาพันฟองเป็นงูใหญ่มีฤทธิ์มาก และสืบเชื้อสายกันต่อมาเรื่อยๆ และลักษณะทางรูปร่างกายต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปเหมือนกันหรือคล้ายกันคือ  มีตัวเป็นงูใหญ่ มีหงอน มีตาสีแดง   และยังมีการแบ่งเป็นตะกูลต่างๆอีก ดังนี้

             หนึ่ง.   ตะกูลวิรุนปักษ์  พญานาคตะกูลสีทอง
             สอง.   ตะกูลเอราปก  พญานาคตะกูลสีเขียว
             สาม.   ตะกูลฉัพพยาปุตะ  พญานาคตะกูลสีรู้ง
             สี่.       ตะกูลกัณหาโคตมะ  พญานาคตะกูลสีดำ

               การเกิดของพญานาคเกิดได้  สี่ แบบ
            หนึ่ง.   โอปปะติกา   คือ  เกิดแล้วโตเลย
            สอง.   สังเสทชะ       คือ  เกิดจากเหงื่อไคร  หรือ สิ่งสะสมโสมม
            สาม.   ชลาพุชะ        คือ  เกิดจากครรถ์
            สี่.        อัณฑะชะ       คือ  เกิดจากไข่
       

            พญานาค เป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ตั้งแต่ใน แม่น้ำ  ลำคลอง หนอง บึง จนไปถึงสวรรค์ชั้นจัตตุมหาราชิกกา เป็นพญานาคชั้นสูงตะกูลวิรูปักษ์ (สาเหตุที่เกิดเป็นนาคอันเนื่องจากทำบุญเจือราคะ) และยังมีตำนานพญานาคในแต่ละท้องที่ที่ต่างกันไป เช่นในพุทธศาสนา เช่นตำนานการบวชนาคก็เกิดมาจากนาคตนหนึ่งได้เป็นพระพุทธเจ้าเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมากจึงอยากออกบวชโดยแปลงกายเป็นมนุษย์และออกบวชวันหนึ่ง เกิดนอนหลับโดยไม่ได้สติ   ร่างเดิมขึ้นปรากฏ เป็นพญานาคทำให้ผุ้คนจับได้ และขขอพระพุทธองค์ว่าเพื่อเป็นที่ระลึก   ใครก็ตามที่ต้องการบวชของให้เรียกว่านาค  จึงอนุญาติตามนั้น  (เหตุแห่งการกลับร่างเดิมของพญานาคนั้นคือ  เกิด ตาย  สมสู่กับนาค  นอนหลับโดยไม่มีสติ  และขณะลอกคราบ ) แต่พญานาคบวชไม่ได้   ตำนานสิงหนวัติ การสร้างนครโยนกต้นตะกูลมังราย  และทางภาคอีสานของไทยด้วยเช่นตำนานการออกพรรษาที่พญานาคจะมาที่แม่น้ำโขง.

         นาคสะดุ้ง คือ กระไดนาคที่นิยมสร้างเพื่อขึ้นไปยังพระอุโบสถในวัด เป็นความเชื่อของศาสนาพุทธและ ฮินดูว่านาคเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ ดังนั้นทางพุทธศิลป์จึงนิยมสร้างเป็นบรรได้นาคเพื่อนำพามนุษย์อย่างเราๆ เข้าสู่สวรรค์ หรือสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ แต่บ้างทีเราไปทางภาคเหนือของประเทศไทยอาจจะเจอนาคสะดุ้งในแบบเฉพาะทางภาคเหนือ  ซึ่งไม่ไช่พญานาคในแบบของภาคกลางและภาคอีสานของไทย  เขาเรียกว่าตัว " เหรา" หรือ " มกร "  ซึ่งเป็นตัวคายอะไรต่อมิอะไรออกมา เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่เฝ้าตีนเขาเมรุเพื่อมิให้ใครไปรบกวนเทพ.


ตัวเหรา หรือ มกร