Saturday, May 26, 2018

ตำนานพญานาค และ วัฒนธรรมไทย

                    หลังจากไม่ได้เขียนเรื่องราวไทยๆมากซักระยะหนึ่งแล้วอันเนื่องจากงานและก็ภาระกิจส่วนตัว  วันนี้คงเป็นเวลาดีที่เอาเรื่องราวพระพญานาค และความเป็นมามาเล่าในบล๊อคของตัวเองให้ทุกคนได้ฟัง  เผื่อมันจะเป็นประโยชน์และไม่เสียเวลาหาข้อมูลของคนที่มีความสนใจในเรื่อง ไทย ไทย อย่างเรา.
                    แต่ก็ต้องขอเล่าเป็นแบบที่ตัวเองถนัดในแบบของมัคคุเทศก์ และเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ตามแบบฉบับที่รวมรวมมาที่ต่างๆและขอขอบคุณข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเจ้าของข้อมูลด้วยครับ  แต่ถ้าเริ่มก็ต้องเล่าเรื่องกำเนิดพญานาคซึ่งน่าจะเกิดจากทางอินเดียใต้ อันเนื่องจากสภาพพื่นที่ทางด้านทางตอนใต้ของประเทศอินเดียเต็มไปด้วยงูมีพิษร้ายแรง  ทำให้เกิดความเชื่อว่างูเป็นสัตว์ที่มีอิทธิ์มาก มีอำนาจมากถึงเกิดตำนานต่างๆ เกี่ยวกับพญานาคเกิดขึ้นรวมถึงเรื่องราว ในมหากาพย์ มหาภาระเรื่องพญานาคกับครุฑ
                จากตำนานมหากาพย์มหาภาระตะ  พญานาค เกิดจากฤาษี กัสญปัจพรหม กับ นางกัญธูร (จากการขอพรกับฤษี กัสญปัจพรหม) ซึ่งออกมาพันฟองเป็นงูใหญ่มีฤทธิ์มาก และสืบเชื้อสายกันต่อมาเรื่อยๆ และลักษณะทางรูปร่างกายต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปเหมือนกันหรือคล้ายกันคือ  มีตัวเป็นงูใหญ่ มีหงอน มีตาสีแดง   และยังมีการแบ่งเป็นตะกูลต่างๆอีก ดังนี้

             หนึ่ง.   ตะกูลวิรุนปักษ์  พญานาคตะกูลสีทอง
             สอง.   ตะกูลเอราปก  พญานาคตะกูลสีเขียว
             สาม.   ตะกูลฉัพพยาปุตะ  พญานาคตะกูลสีรู้ง
             สี่.       ตะกูลกัณหาโคตมะ  พญานาคตะกูลสีดำ

               การเกิดของพญานาคเกิดได้  สี่ แบบ
            หนึ่ง.   โอปปะติกา   คือ  เกิดแล้วโตเลย
            สอง.   สังเสทชะ       คือ  เกิดจากเหงื่อไคร  หรือ สิ่งสะสมโสมม
            สาม.   ชลาพุชะ        คือ  เกิดจากครรถ์
            สี่.        อัณฑะชะ       คือ  เกิดจากไข่
       

            พญานาค เป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ตั้งแต่ใน แม่น้ำ  ลำคลอง หนอง บึง จนไปถึงสวรรค์ชั้นจัตตุมหาราชิกกา เป็นพญานาคชั้นสูงตะกูลวิรูปักษ์ (สาเหตุที่เกิดเป็นนาคอันเนื่องจากทำบุญเจือราคะ) และยังมีตำนานพญานาคในแต่ละท้องที่ที่ต่างกันไป เช่นในพุทธศาสนา เช่นตำนานการบวชนาคก็เกิดมาจากนาคตนหนึ่งได้เป็นพระพุทธเจ้าเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมากจึงอยากออกบวชโดยแปลงกายเป็นมนุษย์และออกบวชวันหนึ่ง เกิดนอนหลับโดยไม่ได้สติ   ร่างเดิมขึ้นปรากฏ เป็นพญานาคทำให้ผุ้คนจับได้ และขขอพระพุทธองค์ว่าเพื่อเป็นที่ระลึก   ใครก็ตามที่ต้องการบวชของให้เรียกว่านาค  จึงอนุญาติตามนั้น  (เหตุแห่งการกลับร่างเดิมของพญานาคนั้นคือ  เกิด ตาย  สมสู่กับนาค  นอนหลับโดยไม่มีสติ  และขณะลอกคราบ ) แต่พญานาคบวชไม่ได้   ตำนานสิงหนวัติ การสร้างนครโยนกต้นตะกูลมังราย  และทางภาคอีสานของไทยด้วยเช่นตำนานการออกพรรษาที่พญานาคจะมาที่แม่น้ำโขง.

         นาคสะดุ้ง คือ กระไดนาคที่นิยมสร้างเพื่อขึ้นไปยังพระอุโบสถในวัด เป็นความเชื่อของศาสนาพุทธและ ฮินดูว่านาคเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ ดังนั้นทางพุทธศิลป์จึงนิยมสร้างเป็นบรรได้นาคเพื่อนำพามนุษย์อย่างเราๆ เข้าสู่สวรรค์ หรือสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ แต่บ้างทีเราไปทางภาคเหนือของประเทศไทยอาจจะเจอนาคสะดุ้งในแบบเฉพาะทางภาคเหนือ  ซึ่งไม่ไช่พญานาคในแบบของภาคกลางและภาคอีสานของไทย  เขาเรียกว่าตัว " เหรา" หรือ " มกร "  ซึ่งเป็นตัวคายอะไรต่อมิอะไรออกมา เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่เฝ้าตีนเขาเมรุเพื่อมิให้ใครไปรบกวนเทพ.


ตัวเหรา หรือ มกร

     
                 


Wednesday, July 1, 2015

เรื่องราว......เล่าวัดไทย

               อากาศครึ้มๆเลยวันนี้มาเขียนเรื่องที่อยู่กันในวัดและเรื่องทำให้เราสงบๆดีกว่า(เกี่ยวไรกับวัดนะ)  เพราะในสมัยก่อนที่ไปวัดจะเห็นวัดเป็นที่รวบรวมศิลปะต่างๆงดงามตามแต่ละวัด และก็มีความคิดว่าทำไมวัดต้องมีกนกงกงอนไรเยอะไปหมด   และคิดว่าแต่มันคงทำไปตามความคิดศิลปะในแบบที่เป็นแบบของมัน.

              จนมาวัดหนึ่งได้เข้าเรียน ฟังเรื่องราวในต่างประเทศบ้างก็กลับมาคิดว่าเออแต่ละที่ก็มีเรื่องราวความเป็นมาว่ามันมาจากอะไรและมันหมายถึงอะไร  เลยคิดว่าบ้านเราก็น่าจะมีเหมือนกันอย่างในประเทศยุโรปก็เป็นศิลปะที่จากเรื่องความเป็นมาจากปรกรนัมของเขา  วันนี้เลยอยากเอาของในวัดมาเล่าสู่กันฟังว่ามีไรบ้างและมีที่มาอย่างไรเพื่อว่าไปวัดครั้งต่อไปอย่างจะได้สนุกกับมันก็ได้. 


              เริ่มจากเข้าไปในวัดแล้วส่วนมากเราจะสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบช่อฟ้า ใบระกา รวยระกา นาคสะ
ดุ้ง หรือ งวงไอยรา  หางหงษ์ คันทรวย แล้วแต่แบบศิลปะในแต่ละพื้นที่อีก  สิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมที่มีเรื่องเล่าความเชื่อมาจากตำนานในพระพุทธศาสนา หรือเกี่ยวกับพระพุทธองค์มาเป็นแนวคิดการก่อสร้าง หลังคาโบส์ที่ประกอบด้วยช่อฟ้าก็เป็นส่วนของหัวพญานาคที่ที่ช่อฟ้าเนื่องจากช่อก็มาจากลักษณะของที่เป็นช่อกิ่งก้านที่ชูขึ้นไปบนฟ้าเลยเรียกว่า "่ช่อฟ้า" เป็นนัยที่หมายถึงการบูชาพระรัตนตรัย และทวยเทพบนสวรรค์  และสาเหตุที่ใช้พญานาคเป็นส่วนต่างๆในศิลปะการก่อสร้างเนื่องจาก  มีความเชื่อที่ว่าพญานาคเป็นสัตว์ที่ปกป้องคุ้มครองพระศาสนา และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  อย่างพญามุจลินที่บกป้องจะพุทธองค์จากฝนที่ตกลงมา  ตอนที่พระองค์เสวยวิมุต  ดังนั้นการสร้างกรอบประตูชายคาต่างๆ จะทำเสมือนว่า  พญานาคพันเกี่ยวรอบพระอุโบสถ หรือวิหาร.

             ใบระกา ก็มาจากความเชื่อในเรื่องเดียวกันว่ามาจากเกร็ดของพญานาค แต่บางตำนานมีการอธิบายว่าใบระกามาจากส่วนเกร็ดใต้ท้องพญานาคและเกร็ดส่วนหน้าคือหางหงษ์  และยังมีส่วนของขนใต้ปีกของครุฑส่วนขนหน้าปีกคือ " ช่อฟ้า"   แต่กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือเกร็ดหรือขนของครุฑนั้นเอง   และประเพณีโบราณถือเอาช่อฟ้าเป็นเครื่องสูงสุดของสถาปัตยกรรมไทยสำหรับการบูชาพระพุทธศาสนาอีกด้วย  ดังนั้นจึงมีประเพณีการยกช่อฟ้าอันเนื่องจากโบราณถือว่าการสร้างวัด หรือศาสนสถานที่สำคัญจะต้องมีการสร้างส่วนต่างๆเสร็จก่อนที่มีการประดับช่อฟ้าอันเป็นเครื่องสูงสุด " จึงมีประเพณีการการยกช่อฟ้ามาแต่โบราณและนี่เป็นแค่ส่วนแรกของวัดเท่านั้นยังมีมากมาย.

           ต่อจากพระอุโบสถหรือวิหารแล้วถ้าเราสังเกตุหรือไม่ต้องสังเกตุโดยคนไทยทั่วๆก็จะทราบดีว่าถ้าเป็นอุโบสถนั้นจะมีใบเสมา และ ลูกนิมิต เป็นการบอกให้ทราบโดยทั่วไปว่าเป็นพระอุโบสถนั้นเอง แต่เราใบเสมาอย่างที่เรารู้กันว่าเป็นแผ่นหินบอกเขตพัทธสีมา ซึ่งมีการสร้างขึ่นมาภายหลังอาจเพราะเหตุผลของการตกแต่งวัดให้มีความงดงาม ต่างจากลูกนิมิตก็เป็นการบอกเขตคามสีมาของพระสงฆ์ที่จะทำ
สังฆกรรมต่างๆ  มาจากความเชื่อที่ว่าในสมัยพุทธกาลมีคนมาบวชกับพระพุทธองค์เป็นจำนวนมากและต้องมากออกไปเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พระตถาคตทรงเห็นว่าพระทุกองค์ที่บวชไม่ใช่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึง ในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงกำหนดให้มีการทำสังฆกรรม เพื่อปรึกษากันงานกิจต่างๆของสงฆ์โดยกำหนดเป็นเขตที่ศักดิ์สิทธิ์ของสงฆ์ในการทำสังฆกรรมโดยการอาศัยธรรมชาติ 8 ประการ คือ ภูเขาศิลา  ป่าไม้ ต้นไม้  จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และนำ้นิ่งและเรียกเครื่องหมายเขตแดนนี้ว่า " นิมิต"  และต่อมานิมิตส่วนใหญ่อยู่ตามธรรมชาติและส่วนมากมักจะคลาดเคลื่อนจึงได้มีการกำหนดใหม๋เป็นสิ่งที่สร้างมาโดยเฉพาะ เช่น  บ่อน้ำ  สระน้ำ และก้อนหิน โดยเฉพาะก้อนหิน ภายหลังมีการตกแต่งให้มีความสวยงามเป็นทรงกลมจนเป็นที่นิยมกันถึงในปัจจุบัน.

     
" ลูกนิมิต" สัญลักษณ์บอกพุทธสีมาตั้่งแต่ในสมัยโบราณมีการจัดวางหรือฝังใต้พื้นอุโบสถหรือใต้ใบเสมามักจะมีการวาง 9 ลูก คือวางเป็นทิศทั้งแปดและวางอีกหนึ่งลูกกลางอุโบสถเป็นลูกเอก  การฝังลูกนิมิตหรือเรียกว่า การผูกพุทธสีมา พิธีการจะมีการให้พระสงฆ์สีองค์ตรวจและสวดสีมาโดยเริ่มจากทางตะวันออกก่อน และบรรจตนิมิตที่ตะวันออกอีกคร้้ง แล้วพระสงฆ์จะกลับเข้าอุโบสถเพื่อการสวดทักสีมาอีกครั้งและตัดสายลูกนิมิตเพื่อเป็นการฝัง  พิธีแบบนี้แรกว่า " สวดทักสีมา" .

         ความหมายขอแต่ละทิศเป็นการบูชาพุทธเจ้า และพระอรหันต์ต่างๆ

1。ทางตะวันออก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ คือผู้รอบรู้ราตรีกาล คือมีความรู้มาก
2.   ทิศตะวันออกเฉียงใต้ คือ พระมหากัปสัปะ คือผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระทรงธุดงด์
3。ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือ พระราหุล เป็นผู้เลิศทางการศึกษา
4。ทิศใต้ คือพระสารีบุตร ผู้มีความเลิศในทางปัญญา
5.   ทิศเหนือคือ พระโมคัลลานะ ผุ้มีความเป็นเลิศในทางฤทธิ์
6。ทิศตะวันตก คือ พระอานนท์ผู้มีความเป็นเลิศในทางพหูสูต.
7。ทิศตะวันตกเฉียงใต้ คือ พระอุบาลี มีความเข็มแข็งทางวินัย.
8。ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือ พระควัมปติ ผู้เป็นเลิศในรูปงาม และทางลาภ.
 
     นอกจากนี้ยังมีเจดย์ หรือ สถูป มากมายภายในวัดต่างๆ  อีกด้วย  เรื่องของเจดีย์มีมาตั้งแต่สมัยของพระพูทธกาล เช่นการนิพพานของอครสาวกเบื้องขาว คือ พระสาริบุตร พระพุทธเจ้ายังมีคำสั่งให้พระจุนทะ และคณะ  ทำเจดีย์เพื่อบรรจุสารีริกธาตุได้ประตูเชตวัน เมืองสารวัตถี  และอีกส่วนหนึ่งทีเมืองนาลันทาบ้านเกิดอีกด้วย  ดังนั้นเจดีย์เป็นเครื่องหมายแห่งความเคารพในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ  และพระธาตุต่างๆอีกด้วย

       
 เจดีย์ หรือ พระสถูป อันที่จริงเราต้องเรียกว่า พระสถูป ถึงจะถูกต้องเพราะเป็นของสูงที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุ หรือ พระธาตุต่างๆ    นอกจากนี้ยังมีการแบ่งออกเป็น

1.  พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
2.  บริโภคเจดีย์ เป็นสิ่ง หรือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยใช้หรือ เสด็จ
3.  ธรรมเจดีย์ เป็น เจดีย์ที่บรรจุธรรมะ หรือ พุทธพจน์นั่นเอง
4.  อุทเทสิกย์เจดีย์ คือ เจดีย์ที่บรรจุพระพุทธรูป

               คราวนี้เราก็มาถึงรูปปั้นเทพหรือสิงห์ สาราสัตว์ ที่อยู่ในวัดที่เราพอจะเห็นบ่อยๆ  ซึ่งส่วนใหญ่ก็แตกต่างกันไปบ้างตามแต่ตำนานของแต่ละพื้นที่ไป  แต่ที่เห็นเกือบทุกวัดคือ  พญานาค  และ ครุฑ และ มอน(ทางภาคเหนือ)   แต่วันนี้ขอเล่าเรื่องนาคก่อนเพราะเราจะเห็นบ่อยและเกือบทุกวัดจะต้องมีเป็นเครืองลำยอง เช่นอย่างที่เคยเล่ามาแล้วในการสร้างอุโบสถ หรือ วิหารต่างๆ


               ตำนานเรื่องนาค  เกิดจากทางตอนใต้ของอินเดียที่มีงูชุกชุม และเป็นหวาดกลัวของคนในพื้นที่เนื่องจากกลัวพิษของมัน  จำทำให้เกิดความเชื่อและนับถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและเป็นที่บูชากัน ภายหลังพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของประเทศอินเดียได้ขยายมาทางใต้ของประเทศ   จึงมีการรวมความคิดเรื่องงู ความศักดิ์ของงูจนเป็นตำนานพญานาคที่มีบทบาทเข้ามาในพระพุทธศาสนาดูได้จาก เรื่องพุทธประวัติ   นิทานชาดก   ทศชาติชาดก พระพุทธเจ้าเองก่อนที่เส็ดจมาเป็นพระพุทธเจ้า  ก็เคยเสวยชาติ เป็นพญานาค  ถึง สองพระชาติ คือ พญานาคภูริทัตนาคราช  และ พญาจำปานาคราช ก่อนที่จะมาเป็นเจ้าชายสิทธถะ   พญานาคในพระพุทธประวัติก็คือปรากฏ เช่น พญานาคมัจจุริน ทรงเห็นพระตถาคตวิมุต และฝนตกมาอย่างแรง   พญานาคมัจจุริน ขดกายเจ็ดรอบให้พระพุทธเจ้าทรงประทับ และ แผ่พังพานปกป้องพระองค์จากน้ำฝน   จนเป็นต้นกำเนิด  " พระนาคปรก "

              ทางศาสนาพรหมห์ก็มีความเชื่อในเรื่องของนาคเช่นกัน เป็นเรื่องเล่าทางศาสนาว่าพญานาคมีวังอย่างใต้บาดาร เป็นที่ประทับของพระนารายณ์  และยังเป็นสร้อยสังวารของพระศิวะอีกด้วย (พระยาสุกรี)  และตำนานเรื่องการบวชนาคก่อนที่จะเป็น พระ ในสมัยนี้ก็มีเรื่องเล่าถึงพญานาคที่อยากเป็นพระอยากออกบวชแต่เนื่องด้วย พระพุทธจ้าทรงบัญญัญไว้สัตว์บวชพระแต่พญานาคแปลงร่างเป็นพระมาขอออกบวช  และถูกจับได้แต่เห็นแก่ความดีที่อยากออกบวชจึงมีพิธีบวชนาคเพื่อเป็นการระลึกถึงนาคตนนั้น (เรื่องนาคออกบวชจะเล่าให้ฟังอีกทีตอนหลัง)

           นาคส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัดนอกจากอยู่บนหลังคา  ชายคา ตัวอุโบสถ แล้ว ยังเห็นได้ตามบรรไดของวัดเพราะมีความเชื่อว่า นาค และ สายรุ้งเป็นสิ่งเดี่ยวกัน เป็นทางที่ทอดมาจากสวรรค์ มายังโลกมนุษย์   จากตอนที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับจากดาวดึงศ์โดยเทวดาเนรมิตบรรได้แก้ว ที่มีพญานาคสองตัวหนุนเป็นบรรได้ให้พระพุทธเจ้าเสร็จ  (จึงเป็นทีมาของบรรได้นาค)  เรื่องราวของพญานาคยังมีอีกมากมายจะเล่าให้ฟังเรื่องของนาคโดยเฉพาะเลย  ตอนนี้เอาที่มาของแนวคิดเรื่องการสร้าง  ว่าทำไมต้องบรรได้นาค  ไปก่อนละกันไม่งั้นส่งสัยไม่จบเรื่องศิลปะในวัดแน่เลย

          ตัวมอม (ส่วนมากจะเห็นได้ทางภาคเหนือ และ วัดต่างๆในภาคกลาาง)  ตามตำนานว่ากันว่าเป็นพาหนะ ของพระ ปัชชุนนเทวบุตร ในสมัยพุทธกาลในรัฐโกศล เกิดภัยแห้งพระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่สัตว์โลก  จึงบันดาลให้พระอินทร์รู้ แล้วในให้  " ปัชชุนนเทวบุตร" บันดาลให้ฝนตกและ สมัยชาติหนึ่งพระอานนท์ทรงเคยเกิดเป็น  พระชุนนเทวบุตร ที่อยุ่ในสวรรค์ชั้น มหาจัตุมหาราชชิกา  " มอม " เ ป็นสัตว์ที่ฤทธิ์มาก ทะนงตัว ลงมายังโลกละทำบาปไว้มากเลยกลับขึ้นสวรรค์ไม่ได้เลย และถูกสั่งให้เฝ้าศาสนสถาน และฟังธรรมจนละกิเลสให้ได้ก่อนขึ้นสวรรค์   (ขอนอกเรื่องนิดหน่อยเออมันดัน คล้ายกับเรื่องที่เคยได้ฟังมาจากเมืองจีน   ตำนานสัตวเทพ เช่น " ผีซิว " หรือ คนทางภาคเหนือของจีนเรียกว่า " เทียนลู่ "   เรื่องราวประมาณว่าเป็นที่โปรดปรานของเง็กเซียนฮองแต้  แต่ทำผิดโดนฝ่ามือเง็กเซียนตบและตอ้งตกลงมาบนพื้นโลก  ต้องทำความดีจนกว่าจะได้กลับไปสวรรค์  บังเอิญจังหน้าตาก็คล้ายกันด้วยอาจเป็นญาติกัน)

         กลับเข้าเรื่องดีกว่าเดี๋ยวจะไม่จบเรื่องวัดไม่ได้กลับบ้านสักที  รูปแบบการปั้นหรือการแกะสลักตัวมอมอาจแตกต่างกันบ้าง  แล้วแต่ศิลปะของแต่ละพื้นที่ หรือ ความขี้เล่น
หรือ ความชอบของนักปั้นด้วยจะเห็นได้จาก ส่วนใหญ่ จะมีคล้าวคล้ายกับ  " สุนัขปักกิ่ง "  มีเกร็ด มีเล็บ ตาโต  บ้างก็อาจจะมีหางปลา หรือ หน้าและเกร็ดคล้ายตัวเงินตัวทองก็มี.

     
  ผมว่าแดดร่มลมตกละน่าจะได้เวลาใกล้กลับบ้านแล้ว แต่ก่อนกลับบ้านขอเล่าตัวสุดท้ายที่อาจจะทำให้สลับสนได้เวลาไปวัดทางภาคเหนือ(ไม่แน่ใจว่าภาคอื่นมีหรือป่าว) นั้นก็คือตัว  " มกร "  อ่านว่า มะกะระ หรือ มะกร ก็ได้ แต่ตำนานป่าหิมพานต์เรียกว่า " เหรา"  เป็นลูกของพญานาค และ จรเข้ มีลักษณะเหนือจรเข้กลืนนาค  อาศัยอยู่ทางขึ้นของเขาหิมพานต์ เป็นความเชื่อทางอินเดีย  ศรีลังกา พม่า.

สุดท้ายนี้  ผมขอขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ผมได้รวบรวมมาและเขียนเป็นแบบที่ผมชอบ และรูปทั้งหมดที่ในบล๊อคนี้เป็นภาพจากที่หาในเวปไซด์.
     


   

      

Thursday, June 18, 2015

เรื่อง ช้าง........

         ทำงานด้านการท่องเที่ยวมานานและก็เห็นสิ่งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ    ทุกประเทศก็พยายามหาสิ่งดึงดูดเพื่อที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวอยากมาประเทศตนเองจึงนึกถึงว่าประเทศไทยเราอะไรน่าสนใจ  และเป็นที่น่าสนใจนอกจากพระบรมมหาราชวัง วัดวา อารามแล้ว   สิ่งที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยกับความน่ารักของสัตว์ใหญ่ที่ยังเหลือมาถึงปัจจุบัน ความน่ารัก แสนรู้ และที่สำคัญที่สุดความผุกพันธ์กับวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมาของประเทศเราอย่างมากมาย.

         วันนี้จึงคิดว่าน่าจะทำการรวบรวมประวัติความเป็นมา ความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และอื่นๆที่เกี่ยวกับช้างสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่ช้านาน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า และค้นหาได้โดยง่ายสำหรับมัคคุเทศก์ที่ต้องการรายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างความเข้าใจประเทศเราที่มีความผูกพันธ์ต่อ ช้าง ได้เป็นอย่างดี.

ช้างยุคแรกหรือบรรพบุรุษอยู่ที่แอฟริกาเป็นเวลากว่า 26 ล้านปีก่อนที่จะอพยพไปส่วนต่างๆของโลกแตกเป็นหลายรอ้ยสายพันธุ์ แต่บางผ่านการเวลาที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้บ้างไม่ได้บ้าง   จนเหลือแค่สองสายพันธุ์ คือ แอฟริกา และเอเชีย(ช้างไทย) ซึ่งตัวใหญ่กว่าช้างไทยมาก   ช้างไทยที่มีงายาว เราเรียกว่า “ช้างพลาย”  ถ้าไม่มีงาเรียก “สีดอ”   ตัวเมียไม่มีงาเรียกว่า  “ช้างพัง”

สายพันธุ์เอเชียแบ่งเป็น 4 สายพันธุ์ย่อย
                                                                1. ศรีลังกา หรืออินเดียใต้
                                                                2. ช้างอินเดีย ช้างไทย  พม่า  เวียดนาม จัดอยุ่ในหมวดนี้ด้วย
                                                                3. ช้างสุมาตรา
                                                                4. ช้างบอเนียว

         ช้างไทยในสมัยโบราณมีประมาณ 100,000 เชือกซึ่งรวมทั้งช้างป้า และช้างเลี้ยง ปัจจุบันเหลือประมาณ  5,000 เชือกเป็นช้างป่า 2400 เชือกที่เหลือเป็นช้างเลี้ยง.

ความสำคัญของช้างกับประเทศไทย

         หนึ่ง . ช้างเป็นสัตว์คู่พระบารมีกษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเฉพาะช้างเผือก (จนในสมัยรัชกาลที่สองทรงใช้รูปช้างเผือกเป็นธงประจำชาติ  และได้รับการยกย่องเป็นเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า.

        สอง.  ช้างเป็นสัตว์ที่ปกป้องประเทศชาติในสมัยโบราณการทำศึกสงครามช้างเป็นสัตว์ที่มีหน้าที่สำคัญในการปกป้องอธิปไตยของประเทศไทย.
     
       สาม.   ช้างใช้ในพระราชพิธีต่างๆมากมายเช่น  พิธีโสกันต์    อัญเชิญพระแก้วมรกต

        สี่  .    เป็นฑูตสันธไมตรีกับต่างประเทศเช่นในสมัย รัชกาลที่ 5 มีการประทานให้แก่ประเทศสิงคโปร์ บัตตาเวีย (อินโดนีเซีย)

       ห้า.   และที่แน่นอนเป็นพาหนะในการเดินทางในสมัยโบราณ

       หก.   ใช้งานในป่าไม้เพื่อกิจการการค้าไม้ในสมัยโบราณ.

       และเราทราบความสำคัญของช้างมาแล้วต่อมาอยากจะให้เราทุกคนที่เป็นคนไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัคคุเทศก์ที่ต้องมีความรู้เพื่อเป็นการ บอกสิ่งที่เป็นของคุ่บ้านเราได้อย่างถูกต้องอีกด้วย  นั้นคือการดูลักษณ์ของช้างที่ดีและคนไทยเราถฺือว่าเป็นสัตว์มงคล ตามคชลักษณ์ที่มีเขียนกันใน ตำราโบราณ.

       ตำราพระคชศาสตร์กำหนดลักษณะสำคัญ ๗ ประการของช้างมงคลไว้ว่าช้างเศวตกุญชร (ช้างเผือก) จะต้องประกอบด้วย

     1. ตาขาว
     2. เพดานปากขาว
     3. เล็บขาว
     4. ขนขาว 
     5. พี้นผิวขาว หรือสีอ่านเหมือนออกแดงคล้ายหม้อไหม้

     6. ขนหางสีขาว
     7. อัณฑะโภสีขาว หรือเสีแดงอ่อน   

    ช้างที่มีลักษะดังกล่าวถ้ามีในครอบครองต้องมีการถวายแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นช้างคุ่บารมีและจะมีการเรียกลักษณะนามว่าช้าง ไม่เรียก เชือกเหมือนทั่วไป และถ้าได้รับการแต่งตั้งเป็นช้างประจำรัชกาลจะมีคำนำหน้าว่า พระคุณ.

    พิธีกรรมต่างๆของประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาเขมรและอินเดียของศาสนาพรหมห์ ตำนานช้างก็เช่นกันตามความเชื่อว่า ช้างถูกสร้างโดยพระนารายณ์ตอนที่พระองค์พระทับที่หลังพระยาอันนตนาคราชและได้สร้างดอกบัว คือโลก และได้แบ่งกลีบดอกบัวเป็นสี่ กลีบและมอบให้พระพรหมห์  พระอิศวร พระวิษณุ และพระอัคนีและต่อมามหาเทพทั้ง 4 ก็เนรมิตรให้เป็นช้างใน 4ตระกูล.


    1. พรหมห์พงศ์ จะเป็นช้างผิวเนื้อละเอียด สีอ่อน หน้าใหญ่ รูขนจะมีมีขน2เส้น งาสีเหลือง ที่เป็นช้างที่มีวิทยาการ และอายุยืนยาว จัดเป็นช้างในตระกูลพระพรหมห์เนรมิตร ซึ่งมี 10 กลุ่ม ที่เด่นที่สุดคือ ฉัททันต์ ในนิทานชาดกเคยกล่าวถึงพระพุทธเจ้าเคยเป็นช้างฉัททันต์

    2. อิศวรพงศ์ เป็นเป็นช้างในตระกูลพระอิศวรเนรมิต ผิวกายดำสนิท มีงาอวบงอนเสมอกันทั้งสองข้าง ขาใหญ่ คอย่น ขณะเยื้องย่างอกใหญ่ หน้าเชิด แบ่งออกเป็น 8หมู่ โด่ดเด่นสุดในหมู่นี้คือ ออ้มจักรวาล เป็นช้างแห่งความสุข และเจริญด้วยทรัพย์สินอำนาจ.
    
    3. วิษณุพงศ์ เป็นช้างเผือกในตระกูลพระวิษณุเมรมิต ผิวหนา ขนหนาเกรียน สีทองแดงอก คอใหญ่ หางยาว งวงยาว หน้าใหญ่ นัยต์ตาขุ่นหลังเรียบ แยกเป็น 6หมู่ที่เด่นที่สุดคือ  สังขทันต์  มีงาอวบราวสังข์ร้องได้สองเสียง ตอนเช้าเป็นเสียงเสือ  ตอนเย็นเป็นเสียงไก่ขัน  กายสีทองแดง เป็นช้างแห่งชัยชนะ ธัญาหาร และฝน.

    4.  อัคนีพงศ์  ช้างตระกูลอัคนีเนรมิตร ท่าทางสง่างาม เดินเชิดงวงอกใหญ่ งาทั้งสองโค้งพอจรดกันสีเหลือง ปนแดง ผิวกายคล้ายใบตองตากแห้งแยกเป็น 42 หมู่ เป็นช้างสีประหลาด หรือ ขาดคชลักษณ์อื่นจะอยุ่ในวงศ์นี้ แต่ถ้าได้ขึ้นเป็นช้างสำคัญ จะมีสีปกติ ท่าทางปราดเปรียว งาสั้นอวบ ช้างในตระกูลนี้ยังแบ่งเป็นช้างเผือก และช้างเนียม.
     
หมายเหตุ:ภาพและข้อมูลบ้างส่วนเป็นของที่นำมาจากในเว็บไซด์เพื่อการศึกษาและวิทยาทานครับไม่ได้มีเจตนาแสดงความเป็นเจ้าของ.